ทำงานออนไลน์ 100%

Swiftlet Nest Search : หาอะไรก็เจอ

Custom Search

Wednesday, April 1, 2009

มารู้จัก "นกนางแอ่นกินรังขาว"กันก่อน

ในประเทศไทยมีแหล่งทำรังของนกนางแอ่นกว่า 150 เกาะ นกนางแอ่นหรือนกอีแอ่น มีอยู่ 2 ชนิด แบ่งแยกให้เห็นกันอย่างชัดเจนคือ... 1.ทำรังด้วยขนหรือเศษไม้เศษต้นพืช และ 2.ทำรังด้วยน้ำลาย (ชนิดที่สองนี้ถือว่ามีประโยชน์ ต่อมนุษย์เป็นอย่างมาก)
ชนิดแรกมีชื่อว่านกนางแอ่น คนท้องถิ่นเรียกว่า "นกนางแอ่นขี้ควาย" ชื่อวิทยาศาสตร์ "Swollow" อยู่ในวงศ์ (Family)Hirundindae ลักษณะตัวใหญ่บินช้า อกสีขาว ปลายหางยาวเรียว 2 ข้าง ชอบเกาะเสาไฟฟ้าและหากินตามทุ่งนา พบกันทั่วไปแทบทุกภาคของประเทศไทย (ที่เห็นอยู่ภาคเหนือ ภาคกลาง เป็นนกนางแอ่น ชนิดนี้หละครับ เพื่อไม่ต้องเมลล์มาถามให้เสียเวลาของท่าน)
ชนิดที่สองมีชื่อว่านกแอ่นกินรังชนิดรังขาว คนท้องถิ่นเรียกว่า "นกอีแอ่น" ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า "Edible-nest Swiftllets:Aerodramus fuciphagus" อยู่ในวงศ์ (Family) Apodiformes เป็นนกชนิดเดียวกันกับนกที่อาศัยอยู่ตามเกาะและที่อยู่ตามบ้านนก ลักษณะพันธ์ที่มีขนาดปานกลาง (ลำตัวยาวประมาณ 12 เซนติเมตร)ลำตัวสีน้ำตาลเข้มเกือบดำหลังสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ สะโพกสีน้ำตาลหรือเทาอ่อน หางแฉกเล็กน้อย ท้องสีน้ำตาล นัยน์ตาสีน้ำตาล จงอยปากดำ เท้าสีดำ ขนาดเล็กเท่าหัวแม่มือ ขนสีเข้ม ตะโพกด้านหลังสีเทาหรือฟ้าอ่อน ปีกและหางเรียวปลายหางตัด บินโฉบไปมาบนท้องฟ้าด้วยความเร็วประมาณ 80-100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หากินอยู่ในบริเวณทะเลเป็นส่วนใหญ่
ผสมพันธุ์ปีละ 3 ครั้งในกลางเดือนมกราคม,ต้นเดือนพฤษภาคม,กลางเดือนสิงหาคม เมื่อผสมพันธุ์แล้วจะรีบทำรังทันที ออกไข่ครั้ง 1-2 ฟอง กกไข่และเลี้ยงลูกจนรอดชีวิตในระยะเวลา 3 เดือน จากนั้นก็จะบินออกจากรังไปหาอาหารตั้งแต่ตีห้าไปจนพลบค่ำ

Saturday, March 21, 2009

History of Bird's Nest.

The history of bird's nest consumption can be traced back to China nearly 1,500 years ago during the Tang Dynasty period (A.D. 618-907). It was believed that bird's nest had been brought back from 'Nan yang' (the southern countries), by sea-faring Chinese sailors, and introduced to the courts of the China's Emperor as a supreme delicacy (food of the Emperor). During that era, only the family of the Emperor and his court officials has the privilege of consuming the highly priced bird’s nest. It was only at the end of the Emperor rule, that the common people were introduced to bird's nest and the value and demand for bird's nest has since continued to climb due to its rarity and nutritional properties.

Tuesday, March 17, 2009

รังนกแอ่น : ราคาและแหล่งรับซื้อ

จากข้อมูลทางการตลาดพบว่าในแต่ละปีมีความต้องการบริโภครังนกปีละ
ประมาณ 200 ตัน ซึ่งตัวเลขการส่งออกสูงสุดจะเป็นอินโดนีเซียประมาณ
100 ตัน มาเลเซีย ส่งออกปีละ 10-20 ตัน ไทยส่งออกปีละ 10-20 ตัน

ดังนั้นจะพบว่าความต้องการในตลาดโลกยังมีปริมาณที่มากกว่าผลผลิต
ที่มีอยู่ดังนั้นราคาที่พ่อค้าคนกลางรับซื้อพอจะแบ่งได้เป็น 3 เกรด คือ

เกรด 1 เป็นรังขาวสะอาด (แยกขนและเคาะเอาเปลือกไข่ออก)
ราคา 75,000-80,000 บาท จนถึง 1 แสนกว่าบาท

เกรด 2 เป็นรังที่มีขนาดเล็กและสกปรกมาก ราคา 55,000-65,000 บาท

เกรด 3 เป็นรังที่มีสกปรกมากหรือรังแตก ราคา 35,000-45,000 บาท

แหล่งส่งออกรังนกของไทยที่สำคัญ คือ ฮ่องกง,จีน แหล่งรับซื้อในไทย คือ
เยาวราช,หาดใหญ่,ภูเก็ต

บ้านรังนก : น่าจะลงทุนมั้ย?

ดี 1 เป็นการช่วยอนุรักษ์นกนางแอ่นไม่ให้สูญพันธ์
เพราะการเก็บลังนกในถ้ำตามเกาะสัมปทานการเก็บ
จะเก็บรังทั้งหมดทั้งถ้ำ จึงทำให้เกิดการสูญเสียไข่
และลูกนกในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก ทำให้ปริมาณ
นกมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ ส่วนการเก็บรังนกตามบ้าน
จะเลือกเก็บรังที่แม่นกยังไม่วางไข่หรือรังที่ลูกนกโตบินได้แล้ว
เพราะต้องการเพิ่มจำนวนนกในตึก

ดี 2 เป็นการลงทุนเพียงครั้งเดียว แต่สามารถเก็บผลผลิตได้ระยะยาว
(บ้านรังนกหลังแรกที่ อ.ปากพนังมีอายุการเก็บเกี่ยวมาแล้ว 80 ปี)

ดี 3 เป็นอาชืพที่สามารถทำรายได้เข้าประเทศได้ดีและลูกค้าหลักคือ คนจีนทั่วโลก

ดี 4 จากการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฮ่องกงพบว่า
รังนกมีสาร Glycoprotein ที่ช่วยชะลอความแก่ของเซลร่างกาย
และช่วยบำรุงเซลเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ดังนั้นคนจีนจึงนิยม
บริโภครังนกมาเป็นเวลายาวนานเป็นพันๆปี และยังคงบริโภคต่อๆ ไป

น่าเสียดายที่ทำเลที่มีนกนางแอ่น จำนวนมากๆ ในประเทศไทย
มีคนมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และไต้หวัน มาลงทุนซื้อตึกเก่า
และที่ดินเพื่อก่อสร้างอาคารสำหรับเลี้ยงนกเป็นจำนวนมาก
เพราะกฏหมายเมืองไทย ไม่มีกำหนด ห้ามเหมือนกฏหมายมาเลเซีย
อินโดนีเซีย ที่ไม่อนุญาตให้ชาวต่างชาติเข้าไปลงทุน

บ้านรังนก... สิ่งที่ท่านผู้สนใจอยากลงทุนต้องทราบ

1. ใช้งบประมาณการลงทุนเท่าไร
อันนี้ขึ้นอยู่กับค่าก่อสร้างและราคาที่ดิน เพราะแต่ละจังหวัดราคาที่ดินไม่เท่ากัน

2. ขนาดเนื้อที่ต้องใช้กี่ตารางเมตร อย่างน้อย 200 ตารางเมตรขึ้น

3. ความสูงของตึกที่เหมาะสมเท่าไร ขนาดกว้าง 4 เมตร X ยาว 12 เมตร
ส่วนมาก 4 ชั้นขึ้นจะเหมาะสมกว่า ( 12 เมตร )

4. ระยะเวลาก่อสร้างนานเท่าไร ขึ้นอยู่ที่เงินลงทุน

5. ทำเลที่ไหนเหมาะสม จังหวัดชายทะเล เพราะธรรมชาติเขาเป็นนกทะเล
(แต่ปัจจุบันนี้จังหวัดทางภาคอีสานแถบแม่น้ำโขงก็สามารถทำได้)

ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง ในการสร้างบ้านรังนก

ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง ในการสร้างบ้านรังนก มี 3 ส่วนดังต่อไปนี้ ;

1. ค่าแบบ, ขออนุญาต, ค่าแรงช่าง, ค่าวัสดุ
2. ค่าอุปกรณ์ภายในบ้านนก, ค่าวางระบบต่างๆ ภายในอาคาร
3. ค่าที่ปรึกษา..ส่วนใหญ่ราคาจะเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน
แต่จะไปแข่งขันกันในเรื่องของผลผลิตและปริมาณ, น้ำหนักของรังนก

**ท่านต้องถามให้ชัดเจนว่าเขาจะทำอะไรให้บ้าง,ขอบเขตและ
ระยะเวลานานขนาดไหน อย่ามองว่าถูกอย่างเดียวต้องหาคนมี
ประสบการณ์ เมื่อมีปัญหาแล้วเราจะแก้ไขไม่ได้เลย ทำให้ถูกตั้งแต่
วันนี้แล้วท่านจะไม่ต้องเสียใจในวันข้างหน้า เท่าที่ประสบการณ์บอก
มีเพียง 20 เปอร์เซ็นต์ ที่นกเข้า และมีเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ของบ้าน
ที่นกเข้า มีนกทำรัง..แล้วท่านจะรู้ว่าสิ่งที่ท่านลงทุนมันไม่คุ้มค่า..
ไม่มีใครกล้าเสี่ยงไปแก้ไขให้ท่านหรอกครับ (ยกเว้นบริการจากเรา)
ราคารังนก
1. รัง A+ คือ รังแรกนกยังไม่ได้วางไข่และออกลูก ราคา 75,000 บาท
2. รัง A แต่ เป็นรังที่นกออกลูกวางไข่แล้ว ราคา 65,000 บาท
3. รัง B คือ รังมุมหรือรังสามเหลี่ยมแต่นกยังไม่ได้วางไข่ออกลูก ราคา 55,000 บาท
4. รัง C คือ รังมุมหรือรังสามเหลี่ยมที่นกวางไข่และออกลูกแล้วราคา 45,000 บาท
5. รูปที่ 4 เศษของรังนกที่เหลือจากการตัดแต่งรัง ราคา 15,000 บาท

รังนกนางแอ่น : ประโยชน์มหาศาลที่ยังถูกซ่อนเร้น

ภาคใต้ของไทย มีแหล่งทำรังของนกนางแอ่นกว่า 150 เกาะ นักวิจัยเตรียมนำลงแผนที่ ภูมิทัศน์ภาคใต้ยืนยันการมีอยู่ และเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ จากธุรกิจรังนกนางแอ่นอย่างสมดุลและเหมาะสม โดยให้ชาวบ้านในพื้นที่เจ้าของแหล่งรังนกได้มีส่วนร่วมรับรู้และได้รับประโยชน์ อย่างเป็นรูปธรรม ไม่ใช่การเป็นธุรกิจที่มีผลประโยชน์มหาศาล แต่เป็นเรื่องปิดบังซ่อนเร้นและรับรู้กันเฉพาะกลุ่มชี้เหตุความรุนแรง ปัญหาโจรขโมยรังนกก็เป็นเพราะความเชื่อในสรรพคุณ เป็นยาอายุวัฒนะหายากและราคาแพง การลักขโมยจึงเป็นเรื่องปกติที่ทำกันตั้งแต่ชาวบ้านจนถึงนักการเมือง นับเป็นพันปีมาแล้วที่มนุษย์เรารู้จักการกินรังนก รังที่สร้างมาจากน้ำลายนกนางแอ่นด้วยความเชื่อว่ามีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลังชั้นเยี่ยมและรักษาโรคได้สารพัด โดยเฉพาะโรคระบบทางเดินหายใจ นกนางแอ่นจึงได้สำแดงบทบาทและความสำคัญมาตั่งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในฐานะเป็นสิ้นค้าราคาแพงที่มีผลประโยชน์มหาศาล อย่างไรก็ตามข้อมูลการมีอยู่ และความเป็นไปในการใช้ประโยชน์จากธุรกิจรังนกยังคงเป็นเรื่องลับๆและซ่อนเร้นที่รับรู้กันในวงจำกัดเฉพาะกลุ่มเท่านั้น ซึ่งคนภายนอกหรือแม้แต่คนในพื้นที่แหล่งรังนกไม่มีโอกาสได้รับรู้หรื่อร่วมใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติชนิดนี้ได้อย่างแท้จริง

ในประเทศไทยมีนกนางแอ่น 12 สายพันธ์ รังนกที่มีมูลค่าคือรังนกของนางแอ่นกินรัง ซึ่งในประเทศไทยมีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด คือ นกแอ่นกินรัง นกแอ่นกินรังตะโพกขาว และนกแอ่นหางสี่เหลี่ยมหรือนางแอ่นรังดำ นกนางแอ่นกินรังเป็นนกขนาดเล็กบินเร็ว มีขนาดประมาณ 10-14 ซม.ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ อาศัยทำรังอยู่ภายใยเกาะเล็กเกาะน้อยชายฝั่งทะเล ใช้น้ำลายทำรังเพื่อวางไข่ มีฤดูกาลสืบพันธ์ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายนของทุกปี แต่ห้วงเวลาอาจแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ปกตินกเพศเมียจะเป็นผู้สร้างรังโดยลำพัง เว้นรังที่สามซึ่งนกเพศผู้และเมียจะช่วยกันสร้าง นกจะสร้างรังในเวลากลางคืนและใช้เวลาประมาณ 1 เดือน รังมีรูปเป็นถ้วยครึ่งซีกเมื่อแห้งและแข็งตัวจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับวุ้นเส้นที่อัดตัวกันแน่น โดยตัวรังจะตรึงติดอยู่กับผนังถ้ำหรือภายในผนังอาคารสิ่งก่อสร้างที่นกอาศัยอยู่ นกนางแอ่นกินรังเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดเดียวที่มีพฤติกรรมสร้างรังทดแทน กล่าวคือ นกจะสร้างรังใหม่ทดแทนรังที่ถูกเก็บเกี่ยวหรือรังที่ถูกทำลายก่อนที่จะวางไข่ แต่หลังจากที่นกวางไข่แล้วแม้รังถูกทำลายหรือถูกเก็บเกี่ยวไป นกก็จะไม่สร้างรังทดแทนอีก รังแรกจะเริ่มสร้างประมาณเดือนกุมภาพันธ์ รังที่สองสร้างประมาณปลายเดือนมีนาคม ส่วนรังที่สาม สร้างประมาณกลางเดือนเมษายน มีเพียงนกบางตัวเท่านั้นที่จะสร้างรังที่สี่ แม้จะเก็บเกี่ยวหรือไม่ก็ตาม แต่ถ้ามีการเก็บเกี่ยวรังที่ สี่ ก็จะสามารถรังที่ห้า และ หก ทดแทนได้ สำหรับคนมุสลิมบางส่วนเชื่อว่า นกนางแอ่นเป็นสัตว์ที่ออกมาจากเหงื่อผู้นำศาสนา คือ นบี อิบรอฮิม และยังเชื่อกันว่าวัฒนธรรมการกินรังนกของคนไทย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น หรือ นานาประเทศต่างก็ได้รับการถ่ายทอดมาจากวัฒนธรรมการกินของชาวจีน ซึ่งเชื่อว่าการกินรังนกนางแอ่นทำให้อายุยืน สามารถบำบัดรักษาโรคต่างๆได้

Monday, March 16, 2009

การสร้างบ้านรังนกนางแอ่น…ผลตอบแทนดี แต่ความเสี่ยงสูง

เมื่อตลาดรังนกนางแอ่นยังคงขยายตัวทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ แต่การผลิตรังนกประสบปัญหาผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการ ดังนั้นถ้ามีการเพิ่มผลผลิตรังนกนางแอ่นจะมีส่วนช่วยให้ตลาดมีการขยายตัวมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งวิธีเพิ่มปริมาณการผลิตรังนกนางแอ่นต้องพิจารณาตัวอย่างของอินโดนีเซีย ซึ่งในประเทศอินโดนีเซียได้มีการศึกษาวิจัยการทำฟาร์มนกนางแอ่นอย่างจริงจังจนประสบความสำเร็จ โดยในปัจจุบันมีนกนางแอ่นทำรังอยู่ตามบ้านเรือนในบ้านของชาวอินโดนีเซียราว 9,000 หลัง และการส่งออกรังนกนางแอ่นสามารถทำรายได้ให้ประเทศปีละหลายพันล้านบาทสำหรับประเทศไทยมีนกนางแอ่นเข้าไปทำรังในบ้านแล้วหลายจังหวัด เช่น นครศรีธรรมราช สมุทรสาคร สุราษฎร์ธานี ตรัง นราธิวาส โดยแหล่งที่มีนกนางแอ่นมากที่สุดคือ อำเภอปากพนัง นครศรีธรรมราช ซึ่งมีนกนางแอ่นนับแสนตัวไปทำรังเองโดยธรรมชาติปัจจุบันในไทยมีธุรกิจรับสร้างบ้านรังนกนางแอ่น ซึ่งธุรกิจนี้เป็นการนำหลักการทางธรรมชาติที่มีอยู่ในถ้ำรังนกมาประยุกต์เข้ากับตัวอาคารบ้านเรือน โดยต้องควบคุมปัจจัยเกี่ยวข้องให้เหมาะสม คือ แสงสว่าง ความชื้นสัมพัทธ์ อุณหภูมิ เสียงเรียกนก โดยมีบริการตั้งแต่ประเมินความเหมาะสมของที่ตั้ง ทำเล การออกแบบบ้านรังนกนางแอ่น การออกแบบและการติดตั้งระบบทำความชื้นและอุณหภูมิ การออกแบบและติดตั้งระบบเสียงเรียก และการติดตามแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยการลงทุนสร้างบ้านรังนกนางแอ่นกำลังเป็นช่องทางการลงทุนที่น่าสนใจ เนื่องจากมีผลตอบแทนค่อนข้างดี เมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนในช่องทางอื่นๆ และมีอัตราคุ้มทุนประมาณปีที่ 4-5 เป็นต้นไป โดยสร้างรายได้ประมาณกว่า 100,000 บาท/เดือน อย่างไรก็ตาม การลงทุนในธุรกิจสร้างบ้านรังนกนั้นปัจจุบันมีอัตราการประสบความสำเร็จเพียง 30.0% ดังนั้นควรศึกษาข้อมูลก่อนลงทุนทำธุรกิจ หรือปรึกษาผู้ที่มีความชำนาญ

รังนกนางแอ่น คาร์เวียแห่งตะวันออก...ทองคำขาวแห่งท้องทะเล

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : รังนกนางแอ่นนับว่าเป็นหนึ่งในบรรดาอาหารที่ได้รับการยกย่องว่ามีคุณค่าทางโภชนาการสูงและรสชาติดี โดยมีชื่อเรียกว่า “คาร์เวียแห่งตะวันออก” อีกทั้งยังมีความเชื่อว่ารังนกนางแอ่นนั้นมีสรรพคุณทางยาช่วยรักษาโรคทางเดินหายใจ บำรุงปอด เพิ่มโลหิต บำรุงพลังทางเพศ และมีคุณสมบัติยับยั้งการตกตะกอนของเม็ดเลือดซึ่งเท่ากับเป็นการลดโอกาสเกิดการอุดตันในเส้นเลือด แต่ด้วยรังนกนางแอ่นนั้นเป็นผลผลิตทางธรรมชาติที่มีเฉพาะบางแหล่งเท่านั้น รวมทั้งความยากลำบากในการเข้าไปเก็บรังนกและกรรมวิธีการทำความสะอาดรังนกก่อนจะนำมาบริโภค ทำให้ราคารังนกนางแอ่นนั้นอยู่ในเกณฑ์สูง ดังนั้นในบางครั้งจึงนิยมเรียกรังนกนางแอ่นว่า “ทองคำขาวแห่งท้องทะเล” โดยธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับรังนกนางแอ่นนั้นในแต่ละปีสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ ความต้องการรังนกนางแอ่นทั้งในประเทศและเพื่อการส่งออกยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ความต้องการรังนกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ดังนั้นในปัจจุบันจึงมีธุรกิจการสร้างบ้านให้นกนางแอ่นเพื่อเก็บรังนก นับว่าเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ดีทีเดียว เนื่องจากในปัจจุบันรังนกนางแอ่นจากธรรมชาติเริ่มมีปริมาณน้อยลงรังนกนางแอ่น...ผลิตภัณฑ์ที่นิยมบริโภคของไทยรังนก นกนางแอ่นเริ่มทำรังครั้งแรกได้ในช่วงเดือนมีนาคม ซึ่งผู้ที่เก็บรังนกหรือแทงรังจะปล่อยให้นกทำรังเป็นเวลาราว 100 วัน จึงจะเริ่มเก็บรังนกในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคม หลังจากนั้นนกจะเริ่มทำรังครั้งที่ 2 ซึ่งผู้ที่เก็บรังนกจะปล่อยให้นกทำรังเป็นเวลา 20 วันจึงจะเริ่มเก็บรังนกในราวเดือนมิถุนายน เมื่อถูกเก็บรังครั้งที่ 2 นกนางแอ่นจะเริ่มสร้างรังใหม่อีกเป็นครั้งที่ 3 ซึ่งการสร้างรังจะกินเวลาราว 40 วันกว่าจะเสร็จ ผู้เก็บรังนกจะเริ่มเก็บรังนกในเดือนกรกฎาคม การเก็บรังนกแต่ละครั้งจะใช้เวลาประมาณ 15-20 วัน รังนกที่เก็บได้นั้นจะมีการคัดแยกระหว่างรังที่มีขนาดใหญ่และสวย และรังเล็ก รวมทั้งแยกรังสีขาว รังสีแดง(เป็นรังนกที่เก็บได้จากการทำรังครั้งที่สองและครั้งที่สาม) และรังสีดำ(รังของนกนางแอ่นสีดำ) โดยใช้มีดตัดรังนกที่ติดกับผนังถ้ำออก แปรงสิ่งสกปรก แล้วนำไปตากลมให้แห้งสนิทจึงนำบรรจุหีบ ส่วนรังนกสีดำบรรจุกระสอบป่านแยกไว้ต่างหาก เนื่องจากราคาจำหน่ายจะต่ำกว่ารังนกสีขาวปัจจุบันมีการประกาศในพระราชกฤษฎีกาตั้งแต่ปี 2484 กำหนดให้เกาะที่มีนกนางแอ่นอาศัยอยู่ตามธรรมชาติเป็นเขตหวงห้ามจำนวน 104 เกาะ นอกจากนี้พระราชบัญญัติอากรรังนกอีแอ่น พ.ศ. 2540 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่14 ตุลาคม 2540 พื้นที่ใช้บังคับในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี พัทลุง กระบี่ ตรัง พังงา สตูล และตราด ส่วนในจังหวัดอื่นจะใช้บังคับ เมื่อใดให้ออกเป็นพระราชกฤษฎีกา สาระสำคัญห้ามมิให้ผู้ใดเก็บรังนกที่มีอยู่ตามธรรมชาติบนเกาะ หรือในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยไม่ได้รับสัมปทาน ผู้รับสัมปทานจะเก็บรังนกได้ไม่เกินปีละสามครั้ง ตามเงื่อนไขที่กำหนดในสัมปทาน เงินอากรรังนก ให้จัดสรรแก่ราชการส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนั้น ในกรณีที่จำนวนเงินอากรมีจำนวนไม่เกินสามล้านบาท ให้จัดสรรเงินอากรดังกล่าวให้ราชการส่วนท้องถิ่นที่มีการจัดเก็บรังนกนั้นทั้งหมด ในกรณีที่จำนวนเงินอากรมีจำนวนเกินสามล้านบาท ให้จัดสรรเงินอากรจำนวนสามล้านบาทแรกให้แก่ราชการส่วนท้องถิ่นที่มีการจัดเก็บรังนกนั้น สำหรับจำนวนเงิน อากรที่เกินสามล้านบาท ให้จัดสรรจำนวนร้อยละสี่สิบของเงินดังกล่าว ให้แก่ราชการส่วนท้องถิ่นที่มีการจัดเก็บรังนกนั้น ส่วนจำนวนอีกร้อยละหกสิบของเงิน ดังกล่าวให้จัดสรรให้แก่ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นในจังหวัดเดียวกัน โดยที่กรมสรรพกรจะเป็นผู้จัดแบ่งให้มีผู้ขออนุญาตตามกำหนดระยะเวลาและกำหนดสถานที่ที่จะจัดเก็บ โดยผู้ที่จะได้รับอนุญาตเก็บนั้นต้องมีการประมูลอากรการเก็บรังนก ผู้ที่ประมูลเงินอากรสูงสุดจะเป็นผู้ได้รับสิทธิ์ในการเก็บรังนกตลาดรังนกในประเทศ...เติบโตต่อเนื่องจากกระแสรักสุขภาพตลาดรังนกนางแอ่นในประเทศไทย แยกออกได้เป็น ดังนี้รังนกนางแอ่นที่วางจำหน่ายตามร้านขายยาแผนโบราณและร้านขายยาจีน ซึ่งมีการรับรองว่าเป็นรังนกแท้ ราคาจำหน่ายของรังนกนางแอ่นคุณภาพดีสูงถึง 35,000-60,000 บาทต่อกิโลกรัม และถ้าเป็นเกรดธรรมดาจะมีราคาตั้งแต่กิโลกรัมละ 5,500-20,000 บาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของรังนก อย่างไรก็ตาม การจำหน่ายรังนกตามร้านขายยานั้นจะชั่งน้ำหนักเป็นบาท (1บาทหนัก 15 กรัม)การจำหน่ายเป็นรังนกสำเร็จรูป แยกออกได้เป็น 2 ตลาด คือรังนกสำเร็จรูปที่จำหน่ายผ่านรถเข็นและแผงลอย รวมทั้งที่จำหน่ายผ่านภัตตาคารและร้านอาหารต่างๆ ส่วนใหญ่รังนกสำเร็จรูปที่วางจำหน่ายตามรถเข็นและแผงลอยนั้นเป็นรังนกปลอม โดยมีการอ้างว่าเป็นรังนกเสริมสุขภาพราคาถูก ทั้งที่รังนกแท้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีราคาสูง เมื่อคำนวณแล้วตกประมาณถ้วยละ 100 บาทขึ้นไป ส่วนที่ขายตามรถเข็นและแผงลอยนั้นราคาเพียงถ้วยละ 10-15 บาทเท่านั้น จึงน่าจะเป็นการใช้สิ่งอื่นทดแทนรังนก ซึ่งส่วนมากทำมาจากยางไม้คารายากัม(Karaya Gum)ที่มีคุณสมบัติไม่ละลายน้ำ แต่สามารถดูดน้ำทำให้พองตัวเป็นวุ้น หรือนำมาจากผลของ“ต้นพุงทะลาย”(Sterculia Acerifolia)ซึ่งเป็นไม้พุ่มยืนต้น ทั้งสองชนิดเมื่อมาต้มแล้วจะคล้ายรังนกมาก ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่มีคุณภาพเท่ากับรังนกแท้แต่อย่างใดรังนกสำเร็จรูปบรรจุขวดแก้วเพื่อจำหน่ายในซุปเปอร์มาร์เก็ตและห้างสรรพสินค้าทั่วไป คาดว่ามูลค่าตลาดรวมของเครื่องดื่มรังนกสำเร็จรูปในปี 2550 ประมาณ 1,300 ล้านบาท และมีอัตราการขยายตัวของตลาดร้อยละ 10-15 ซึ่งนับว่าอยู่ในเกณฑ์สูงเมื่อเทียบกับสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา แต่ผู้ประกอบการมีการเพิ่มกลยุทธ์ส่งเสริมการขายโดยเน้นให้เป็นสินค้าเพื่อสุขภาพและความงาม โดยการเพิ่มยอดจำหน่ายสินค้าผ่านการแนะนำให้ผู้บริโภครับรู้ถึงคุณค่าทางโภชนาการของรังนกนางแอ่นเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพื่อเพิ่มความถี่ในการซื้อสินค้าของผู้บริโภค จากเดิมยอดจำหน่ายสินค้าจะสูงเฉพาะในช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองปลายปีเท่านั้นการส่งออก นำเข้า...ผันผวนตามสภาพอากาศ การส่งออกรังนกนางแอ่นของไทยมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากความต้องการรังนกในตลาดโลกยังคงเติบโต ซึ่งไทยนั้นเป็นหนึ่งในบรรดาไม่กี่ประเทศในโลกที่มีการส่งออกรังนกนางแอ่น คู่แข่งสำคัญของไทยคือ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย อย่างไรก็ตามปริมาณและมูลค่าการส่งออกรังนกนางแอ่นของไทยนั้นผันแปรไปตามความแปรปรวนของสภาพอากาศ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อปริมาณการผลิตและคุณภาพของรังนกนางแอ่น และความต้องการรังนกนางแอ่นในประเทศ กล่าวคือ ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2550 มูลค่าการส่งออกรังนกนางแอ่นเท่ากับ 24.48 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนแล้วลดลงร้อยละ 49.6 ทั้งนี้เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวน แต่เมื่อพิจารณาย้อนไปดูการส่งออกในช่วงระยะ 3 ปีที่ผ่านมานั้น การส่งออกรังนกนางแอ่นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ ในปี 2547 มูลค่าการส่งออกรังนกนางแอ่น36.87 ล้านบาท และในปี 2549 เพิ่มขึ้นเป็น 126.50 ล้านบาทตลาดส่งออกรังนกนางแอ่นที่สำคัญคือ ฮ่องกง ซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกสูงถึงร้อยละ 78.4 ของมูลค่าการส่งออกในช่วงระยะ 5 เดือนแรกของปี 2550 อย่างไรก็ตาม ตลาดส่งออกที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง คือ ออสเตรเลีย สิงคโปร์ นิวซีแลนด์ พม่า ไต้หวัน กัมพูชา และลาว ส่วนตลาดส่งออกที่น่าจับตามอง เนื่องจากทั้งปริมาณและมูลค่าการส่งออกเติบโตแบบก้าวกระโดดคือ จีนแม้ว่าประเทศไทยจะสามารถเก็บรังนกนางแอ่นได้ แต่ปริมาณยังไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด ทำให้ต้องมีการนำเข้ารังนกนางแอ่นเพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตด้วย ซึ่งจากรังนกนางแอ่นแห้งเมื่อนำไปล้างทำความสะอาด และนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปนั้นผู้ผลิตสามารถเพิ่มมูลค่าของรังนกได้ถึง 4-5 เท่าตัวทีเดียว โดยปัจจุบันตลาดนำเข้ารังนกนางแอ่นหลักของไทย คือ อินโดนีเซีย กล่าวคือ ในช่วงระยะ 5 เดือนแรกของปี 2550 ปริมาณการนำเข้ารังนกนางแอ่นเท่ากับ 8.72 ตัน มูลค่า 402.32 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงระยะเดียวกันของปีก่อนแล้วทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.2 และ 26.7 ตามลำดับ